นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจโพล “สถานภาพแรงงานไทย : กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท” จำนวน 1,300 ตัวอย่างทั่วประเทศ โดยเป็นการสำรวจระหว่างวันที่ 18-24 เม.ย.66
กลุ่มตัวอย่างมีทั้งลูกจ้าง พนักงานภาครัฐและเอกชน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 51 % อยู่นอกระบบ และอยู่ในระบบประกันสังคม 49 % สำหรับสถานะการออมเงินของแรงงานกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
ไม่มีเงินเงินออม 73.5 % ส่วนคนที่มีเงินออม 26.5 % โดยมีเงินออมเฉลี่ยที่ 950 บาทต่อเดือน
เมื่อไปดู สถานะภาพหนี้แรงงานของไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 99.1 % ที่มีหนี้ครัวเรือน มีเพียง 0.9% เท่านั้นที่ไม่มีหนี้ ซึ่งเหตุผลที่ทำให้กลุ่มมีหนี้ต้องกู้เงิน 3 อันดับแรก คือ
- ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 14.5 %
- หนี้บัตรเครดิต 12.5 %
- ใช้คืนหนี้เก่า 10.7 %
และในจำนวนนี้ หนี้ส่วนบุคคลหรือหนี้บัตรเครดิตส่วนใหญ่นำไปใช้จ่าย อุปโภคบริโภค (41.4 %) ใช้หนี้เดิม (21.6 %) และที่อยู่อาศัย (10.8 %)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แต่ที่น่ากังวล คือการชำระหนี้บัตรเครดิตในแต่ละเดือน พบตัวเลขที่น่ากังวล คือ ชำระขั้นต่ำ ถึง 68.8 % รองลงมา แบ่งชำระบางส่วน 26.7 % ชำระเต็มจำนวน 4.3 % และ ขาดการชำระและผ่อนผันการชำระ 0.2 %
หนี้ครัวเรือนกลุ่มแรงงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี (นับตั้งแต่ปี 2553)
ในปี 2566 ยังพบภาระหนี้ของครัวเรือนแรงงานไทยอยู่ที่ 272,528 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ 25.04 % ถือว่าสูงสุดในรอบ 14 ปี โดยมีอัตราการผ่อนชำระ 8,577 บาทต่อเดือน ในจำนวนนี้แยกเป็นหนี้ในระบบ 79.84 % ผ่อนชำระต่อเดือน 7,936 บาท อัตราดอกเบี้ย 8.76 % ต่อปี และนอกระบบ 20.16 % ผ่อนชำระต่อเดือน 2,381 บาท อัตราดอกเบี้ย 15.47% ต่อเดือน
แต่อย่างไรก็ตาม ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่า ปัจจุบันที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ตัวเลขหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ ไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมากเกินไป และแรงงานเป็นหนี้เพื่อให้ได้สินค้าคงทนถาวร เช่น บ้าน ซึ่งการ กลับมาของอัตราหนี้มาจากหลายปัจจัย เช่น การลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ รวมถึงหนี้นอกระบบที่เข้ามาอยู่ในระบบ ซึ่งในขณะเดียวกันยังส่งผลให้หนี้นอกระบบลดลงถือเป็นสัญญาณดีที่
เชื่อว่า หนี้ครัวเรือน อยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ แม้หนี้ครัวเรือนที่ประคองตัวสูงแต่น่าจะค่อยๆผ่อนคลายเมื่อเศรษฐกิจฟื้น เราไม่มีสัญญาณห่วงใย เรื่องหนี้ครัวเรือน : ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
อากาศร้อน "กระทบเงินในกระเป๋า" ค่าใช้จ่ายเพิ่มเกือบหมื่นบาท
คลังออกพันธบัตร "ออมอุ่นใจ" ดอกเบี้ย 2.60-2.70% เริ่มจำหน่าย 10 พ.ค.
แรงงานไทย ยังเผชิญรายได้ไม่พอใช้ จี้รัฐลดค่าใช้จ่าย กระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะที่สถานภาพทางการเงินของแรงงาน พบกลุ่มตัวอย่าง 77.2 % มีปัญหารายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย ส่วน 12.8 % ไม่มีปัญหา เพราะซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ส่วนกิจกรรมในช่วงวันหยุดแรงงานในปี 2566 พบ 3 อันดับแรก กลุ่มตัวอย่าง จะออกไปซื้อของ 49.2 % ท่องเที่ยว 34.2 % และทานอาหารนอกบ้าน 29 %
ส่วนการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดแรงงาน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2,528 บาท และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 51.5 % คาดว่าบรรยากาศแรงงานปีนี้จะคึกคักมากกว่าปี 2565 คาดส่งผลให้เกิดมูลค่าการใช้จ่ายในวันแรงงานในปี 2566 มูลค่า 2,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 29.8 %
นอกจากนี้ แรงงาน ยังเสนอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องค่าแรง หรือ ค่าครองชีพ เช่น การมีมาตรการในการดูแลช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพิ่มสวัสดิการให้กับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดค่าใช้จ่าย และ กระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัว